Derivative Warrants คืออะไร
Derivative Warrant คืออะไร Derivative Warrant (DW) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออก (Issuer) ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ (นักลงทุน) ในการที่จะซื้อ (Call) หรือจะขาย (Put) สินทรัพย์อ้างอิง ในราคาใช้สิทธิ (Strike Price) และในวันที่ที่กำหนด (Strike Date) โดยผู้ออก DW ซึ่งก็คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ ใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งสินทรัพย์อ้างอิงอาจจะเป็นดัชนีราคาหุ้นสามัญหรือหุ้นสามัญรายตัวก็ได้ DW สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการจนถึงวันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Date) ดังนั้น หากนักลงทุนถือ DW ไว้จนกระทั่งหมดอายุ ผลกำไรของ นักลงทุนจะขึ้นอยู่กับว่าราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิงในวันซื้อขายวันสุดท้ายสูงกว่า (ในกรณีของ Call) หรือต่ำกว่า (ในกรณีของ Put) ราคาใช้สิทธิที่ นักลงทุนได้เลือกเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่ซื้อ DW การชำระราคาของ DW จะเป็นแบบชำระส่วนต่างของราคาด้วยเงินสด ในทางกลับกัน ถ้าหากราคาปิดของ สินทรัพย์อ้างอิงในวันซื้อขายวันสุดท้ายต่ำกว่า (ในกรณีของ Call) หรือสูงกว่า (ในกรณีของ Put) ราคาใช้สิทธิที่นักลงทุนได้เลือกเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้น DW จะมีมูลค่าเป็นศูนย์บาท นักลงทุนจะขาดทุนเท่ากับมูลค่าของเงินลงทุนที่จ่ายซื้อ DW มาในตอนแรก นักลงทุนไม่จำเป็นต้องถือ DW ไว้จนถึง วันหมดอายุ (Maturity Date) แท้จริงแล้วนักลงทุนควรขายออกก่อนที่ DW จะหมดอายุ เนื่องจากก่อนที่ DW จะหมดอายุ ราคาของ DW จะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยหลัก 3 ปัจจัยคือ ราคาของสินทรัพย์อ้างอิง อายุคงเหลือ (Time to Expiry) และความผันผวนแฝง (Implied Volatility) หากความผันผวนแฝงเพิ่มขึ้น ราคาของ DW จะเพิ่มขึ้น นักลงทุนจึงสามารถขายทำกำไรได้ แต่ถ้าหากอายุคงเหลือลดลงและความผันผวนแฝงลดลง ราคาของ DW จะลดลง สาเหตุเพราะว่ามีโอกาสน้อยลงที่ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่คาดหวังก่อนวันหมดอายุ (สำหรับรายละเอียดของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคา DW นักลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความชื่อ ปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคา DW) ทั้งนี้ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษหลายชื่อตามแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ประเทศ Derivative Warrant ไทย ฮ่องกง Covered Warrant อังกฤษ อิตาลี Equity Linked Warrant เกาหลีใต้ Structured Warrant สิงคโปร์ อ้างอิงจาก ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน, ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน : ตราสารทั่วไป พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, (2560).
ดูเพิ่มเติม
ลักษณะของ Derivative Warrant (DW)
ลักษณะของ Derivative Warrant (DW) สำหรับนักลงทุนที่สนใจซื้อขาย DW ควรทำความเข้าใจลักษณะของ DW ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนการตัดสินใจซื้อขาย ซึ่งลักษณะที่สำคัญมีดังนี้ - มีทั้งสิทธิซื้อ (Call DW) และสิทธิขาย (Put DW) - หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นรายชื่อหลักทรัพย์ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศกำหนด (Single Stock) และดัชนีหลักทรัพย์ SET50 Index - ลักษณะของ DW แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ออก DW จะเป็นผู้กำหนด เช่น ราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ วันครบกำหนดอายุ และจำนวน DW ที่ออกเสนอขาย - สามารถใช้สิทธิได้ครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดอายุ (European Style) - สามารถใช้สิทธิกับผู้ออก DW (ใช้สิทธินอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) - ส่งมอบส่วนต่างของราคาด้วยเงินสด (Cash Settlement) - อาจมีสินทรัพย์ที่เป็นประกันบางส่วนหรือไม่มีทรัพย์สินที่เป็นประกัน - มีอายุไม่เกิน 2 ปี - ผู้ออกจะจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างน้อย 1 ราย (Market Maker) - ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออก DW แต่ละรายอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก DW แต่ละราย
ดูเพิ่มเติม